กรมพระยาดำรงราชานุภาพ



 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
       ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล "โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา 
ประสูติ  ในพระบรมมหาราชวั เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405    
        พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้
       “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวัน ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้   พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณะ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ”   ตั้งนามมาวัน ค่ำปีจอจัตวาศก เป็นปีที่ 12 เป็นวันที่ 6096 ในรัชกาลปัจจุบันนี้
 
ทรงศึกษา
        พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปานราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์
  • พ.ศ. 2418 เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระ-อุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศหาร 
  • พ.ศ. 2420 ได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี

พระราชกรณียกิจ 
ด้านการศึกษา
        ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นเพียงประมาณ 3 ปี (พ.ศ. 2333 - 2335) แต่พระองค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มเป็นเยี่ยมในพระกรณียกิจด้านนี้หลายประการ กล่าวคือ
1. ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาพ "โรงเรียนทหารมหาดเล็ก" ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทหารให้แก่นายร้อย นายสิบ ในกรมทหารมหาดเล็ก มาเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน มีชื่อเรียกว่า "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" และพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน
2. ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการ ได้ทรงจัดวางระเบียบการบริหารราชการของกรมและโรงเรียน กล่าวคือ ทรงวางระเบียบ ข้อบังคับตำแหน่งหน้าที่เสมียน พนักงานในการเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่ง ลาออก ลงโทษ ตลอดจนทรงกำหนดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลตรวจโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองของพนักงานด้วย 
3. ทรงริเริ่มจัดให้มีการตรวจสอบตำราเรียนและออกประกาศรับรอง ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และความสามารถอย่างเหมาะสม และทรงกำหนด ให้มีการปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียนขึ้นใหม่ คือ ตำราแบบเรียนเร็ว  
4. ทรงปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นหอสมุดแห่งเดียวในพระนคร เช่น ทรงกำหนดให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงาน จัดงบประมาณสำหรับซื้อหนังสือ กำหนดระเบียบวิธีการยืม และการเป็นสมาชิก เป็นต้น

โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ด้านมหาดไทย
          ซึ่งเป็นกิจการสำคัญยิ่งในการบริหารประเทศนั้น พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อตั้งและปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศ และการบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทยกล่าวคือ
1. ทรงจัดการบังคับบัญชางานภายในกระทรวง ให้มีรูปแบบเป็นระบบราชการชัดเจนขึ้น มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานและเลือกสรร ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยการจัดสอบคัดเลือกตลอดจนออกระเบียบวินัยต่าง ๆ เช่น เลิกประเพณีให้ข้าราชการทำงานอยู่ที่บ้าน กำหนดให้มีการประชุมข้าราชการทุกวัน กำหนดเวลาการทำงาน ตลอดจนจัดระเบียบส่ง ร่าง เขียน และเก็บหนังสือราชการ เป็นต้น
2. ทรงจัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งเรียกว่า "ระบบเทศาภิบาล" ได้เป็นผลสำเร็จ และนับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดของพระองค์ โดยทรง รวมหัวเมืองต่าง ๆ จัดเข้าเป็น "มณฑล" และมี "ข้าหลวงเทศาภิบาล" เป็นผู้บังคับบัญชา อยู่ในอำนาจของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยอีกชั้นหนึ่ง สำหรับการแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านนั้น ใน พ.ศ. 2440 ได้ออก "พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่" บังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร พระราชกรณียกิจด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรงริเริ่มจัดตั้ง "การสุขาภิบาลหัวเมือง" ในปี พ.ศ. 2448 โดยเริ่มที่ ตำบลท่าฉลอมจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแห่งแรก และนับเป็นการปูพื้นฐานการปกครองส่วนท้องถิ่น พระกรณียกิจด้านมหาดไทยทุกประการ จึงล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและด้านมหาดไทยแล้ว พระองค์ยังทรงรับพระราชภาระจัดการและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกิจการด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน ได้แก่
ด้านการป่าไม้
            ซึ่งทรงริเริ่มก่อตั้งกรมป่าไม้ขึ้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้เข้าไปควบคุมดูแลกิจการป่าไม้โดยตรง และทรงริเริ่ม ให้ดำเนินการออกพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และกฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อเป็นผลประโยชน์ของกรมป่าไม้เป็นหลักสำคัญ และเป็นรากฐานในการ ปฏิบัติงานของกรมป่าไม้มาจนถึงปัจจุบัน ทรงริเริ่มการออกโฉนดที่ดิน 
ด้านสาธารณสุข
          ทรงรับภาระในการจัดการโรงเรียนแพทย์ต่อจาก พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มให้มีโอสถศาลา สำหรับรับหน้าที่ผลิตยาแจกจ่ายให้ราษฎรในตำบลห่างไกล ซึ่ง ปัจจุบันคือ สถานีอนามัย และทรงจัดตั้งปาสตุรสภา สถานที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในปัจจุบันโอนไปอยู่ในสังกัดของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับพระภารกิจด้านงานสรรพากร และงานอุตสาหกรรมโลหกิจ ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนางานมาจนถึงปัจจุบันด้วย
ด้านศิลปวัฒนธรรม

          ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของ กิจการพิพิธภัณฑสถาน  แห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และพระองค์ท่านก็ทรง อุทิศเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือ ตำราต่าง ๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นมรดกทางปัญญาของชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้
          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔ ประสูติในบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
         การศึกษาของพระองค์ในขั้นต้น ได้ทรงศึกษาภาษาไทยตามแบบเก่ากับคุณแสงเสมียนและคุณปาน ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในพระบรมมหาราชวัง ภาษาบาลีในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย) ภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง นายฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์
        พระองค์ได้รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรดให้ทรงจัดการกรมแผนที่เพื่อฝึกให้คนไทยทำแผนที่ พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างเรียบร้อย ภายหลังโปรดให้บังคับบัญชากรมกองแก้วจินดา พระองค์ก็ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้องพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรงได้รับพระราชทานสุพรรณบัตร สถาปนากรมหมื่นดำรงราชานุภาพ       การปกครองในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้ทรงปฏิรูปใหม่เป็นอันมาก เช่นเมื่อทรงเห็นโรงเรียนมากขึ้นตามลำดับ ก็ทรงตั้งกรมศึกษาธิการขึ้นโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นปฐมอธิบดี และต่อมากิจการศึกษาธิการกว้างขวางขึ้น จึงโปรดให้รวมกรมศึกษาธิการเข้ากับกรมธรรมการแล้วทรงตั้งให้เป็นกระทรวงธรรมการ ต่อมาโปรดให้เป็นราชฑูตพิเศษออกนานาประเทศ พระองค์ก็สนองพระราชโองการได้โดยเรียบร้อย      เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดระเบียบการปกครองใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทั้งยังเคยทรงดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาผู้สำเร็จการราชการแผ่นดิน             
       ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ทรงรับสถาปนาเลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านก็ได้สนองพระเดชพระคุณตลอดมา ตราบจนชราทุพพลภาพ ไม่สามารถทำราชการหนักในตำแหน่งต่อไปอีก จึงกราบถวายบังคมลาออกจากเสนาบดีมหาดไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสถาปนาเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา      ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดเกล้าให้เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อันเป็นยศที่สูงสุดในทางทรงกรม      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัย (หัวใจ)พิการมาตั้งแต่เดือนธันวา พ.ศ.๒๔๘๔ จึงเสด็จกลับมารักษาพระองค์ยังเมืองไทย พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น