พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย





พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงศ์เชษมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
       (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายนพ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2367พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชสมภพ  เมื่อ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 
พ.ศ. 2310 
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อขึ้นครองราชย์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 2 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย[1] และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงศ์เชษมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ครองราชสมบัติ
มื่อถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา ขณะมีพระชนมายุได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 2 ได้ย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี
พระราชกรณียกิจ                 
  ด้านการเมืองการปกครอง  
         ทรงตรากฎหมายห้ามสูบซื้อขายฝิ่นใน พ.ศ. 2354  และ พ.ศ. 2362  โดยกำหนดบทลงโทษแก่ผู้สูบฝิ่นไว้อย่างหนัก
        ทรงปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดสักเลกเมื่อ พ.ศ. 2353  เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ  โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง 3 เดือน  ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น
                
 ด้านสังคมและวัฒนธรรม        โปรดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งด้วยการสถาปนาโบสถ์และวิหารใหม่  เสริมพระปรางค์องค์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และพระราชทานนามใหม่ว่า  "วัดอรุณราชวราราม"  ทรงให้แปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย  เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำสอนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
       ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2360  ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในสมัยสุโขทัย
                   
 ด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม
      ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ทั้งโขนและละคร  ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน  ทรงประพันธ์เพลง  "บุหลันลอยเลื่อน"  หรือ  "บุหลันลอยฟ้า"
      ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย  เช่น  ขุนช้าง  ขุนแผน  คาวี  สังข์ทอง  ไกรทอง  อิเหน  ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี  ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร
 เสด็จสวรรคต
       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริรวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี

                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น