เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์



 

  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 
      เป็นพระโอรสลำดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงพรรณรายและทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์”
 ประสูติ  เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406
      ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนารถโดยมีพระราชหัตถเลขา ดังนี้
"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรชายที่ประสูติจากหญิงแฉ่พรรณรายผู้มารดา ในวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนเบญศกนั้นว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ สิงหนาม ขอจงมีความเจริญชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ สุวรรณหิรัญรัตนยศบริวารศฤงคารศักดานุภาพ ตระบะเดชพิเศษคุณสุนทรศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลพิบุลยผลทุกประการ เทอญ" เมื่อครั้งที่สมเด็จพระราชบิดาสวรรคต มีพระชันษาแค่ 5 ปี แต่ทรงจำถึงตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระราชบิดาทรงประทับนั่งที่เก้าอีที่หมุนได้ ทรงฉลองพระองค์สีแดงสด"                         
                                                                                                                                                  พระราชกรณียกิจ                                                                                                                             ด้านราชการ
พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งให้ให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์ มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชวงศ์พระองค์ใดที่มีกิจที่ไม่ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ติดต่อกราบบังคมทูลต่อพระองค์แทน  นอกจากนี้ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 ด้านศิลปกรรม
งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า "เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น"
ด้านสถาปัตยกรรม
  • งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442
  • การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121(พ.ศ. 2445)หรือ ร.ศ. 121
ด้านภาพจิตรกรรม
ภาพเขียน
  • ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)
  • ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม
  • ภาพแบบพัดต่างๆ
ฯลฯ
งานออกแบบ
ออกแบบตรากระทรวงต่างๆ, อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1, องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และทรงออกแบบพระเมรุมาศ และพระเมรุของพระบรมวงศ์หลายพระองค์
ด้านวรรณกรรม
        มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร, โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี, ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่างๆ เช่น จดหมายเวรโต้ตอบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลายพระหัตถ์ประทานความรู้ในลักษณะจดหมายโต้ตอบพระสารประเสริฐและพระยาอนุมานราชธน เรื่องภาษาและประเพณี ลายพระหัตถ์โต้ตอบเหล่านี้ เป็นเหมือนคลังความรู้สำหรับผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าทั่วไป
ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ
เพลงพระนิพนธ์
  1. เพลงสรรเสริญพระบารมี (คำร้อง)
  2. เพลงเขมรไทรโยค
  3. เพลงตับ เช่น ตับแม่ศรีทรงเครื่อง ตับเรื่องขอมดำดิน
ด้านบทละคร
ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น
  1. สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
  2. คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง
  3. อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง
  4. รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา

       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง พระองค์มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ และราชประเพณี


     ใน พ.ศ. 2452 ทรงกราบบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากประชวร ด้วยโรคพระหทัยโต ทรงปลูกตำหนักอยู่ที่คลองเตย และเรียกตำหนักนี้ว่า บ้านปลายเนิน ครั้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงทรงพ้นจากตำแหน่ง
     ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบั้นปลายพระชนม์ทรงประทับที่บ้านปลายเนินจนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระชันษา ๘๓ ปี  
     

1 ความคิดเห็น: