พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชบิดาแห่งการลูกเสือไทย
พระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
ทรงศึกษา
ทรงศึกษา
เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาวิชาภาษาไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จนแตกฉาน พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๙ ปี
ทรงครองราชย์
เมื่อพระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา ก็เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงครองราชย์ได้ ๑๖ ปี ก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ รวมพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับสมเด็จพระนางเจ้าศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงได้รับสถาปนาเป็น "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร"
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติไว้หลายด้านด้วยกัน พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียงแค่ ๑๖ ปี ก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ รวมพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา
เพื่อระลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์รัฐบาลและประชาชน จึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานไว้หน้าสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร และคณะลูกเสือแห่งชาติร่วมกับคณะลูกเสือทั่วราชอาณาจักรได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเป็นพระราชานุสรณ์อีกแห่งหนึ่งด้วย
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการปกครอง
๑. ทรงปลูกฝังความรู้สึกรักชาติให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทย
๒. ทรงตั้งกองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔
๓. ทรงตั้งกองลูกเสือขึ้น เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔
๔. ทรงตั้งดุสิตธานีเมืองจำลองขึ้น เพื่อให้เป็นนครตัวอย่างของการปกครองแบบประชาธิปไตย
ด้านการทหาร
๑. ทรงตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร กระทรวงทหารเรือ
๒. ทรงตั้งกองบินกองทัพบก (ปัจจุบัน คือ กองทัพอากาศ)
๓. ทรงสร้างเรือรบและจัดหายุทโธปกรณ์อันทันสมัยมาใช้
ด้านการคมนาคม
๑. ทรงตั้งกรมอากาศยานขึ้น
๒. ทรงตั้งสถานีวิทยุโทรเลขที่กรุงเทพฯ (ตำบลศาลาแดง) และที่จังหวัดสงขลา
๓. ทรงตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐
ด้านการศึกษา๑. ทรงปรัปรุงโรงเรียนข้าราชการพลเรือนจนพัฒนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
๒. ทรงตั้งกรมมหาวิทยาลัย
๓. ทรงตั้งโรงเรียนเพาะช่างโรงเรียนพาณิชยการ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม
๔. ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์
ด้านเศรษฐกิจ
๑. ทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖
๒. ทรงตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
๓. ทรงตั้งกรมสรรพากร และกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ด้านสาธารณสุข
๑. โปรดให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
๒. ทรงตั้งสถานเสาวภา และกรมสาธารณสุข
๓. ทรงเปิดการประปา
ด้านต่างประเทศ
ทรงนำชาติไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นฝ่ายชนะ ทำให้สามารถเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดาได้ เช่น สนธิสัญญาเกี่ยวกับเรื่องการเก็บภาษี และสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ด้านวรรณคดี
ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือต่างๆ บทความ บทกวี บมละคร เรื่องสั้น ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นจำนวนประมาณ ๒๐๐ เรื่อง ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านนี้ประชาชนจึงได้ขนานนามพระองค์ว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับสมเด็จพระนางเจ้าศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงได้รับสถาปนาเป็น "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร"
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติไว้หลายด้านด้วยกัน พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียงแค่ ๑๖ ปี ก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ รวมพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา
เพื่อระลึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์รัฐบาลและประชาชน จึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานไว้หน้าสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร และคณะลูกเสือแห่งชาติร่วมกับคณะลูกเสือทั่วราชอาณาจักรได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเป็นพระราชานุสรณ์อีกแห่งหนึ่งด้วย
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการปกครอง
๑. ทรงปลูกฝังความรู้สึกรักชาติให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทย
๒. ทรงตั้งกองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔
๓. ทรงตั้งกองลูกเสือขึ้น เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔
๔. ทรงตั้งดุสิตธานีเมืองจำลองขึ้น เพื่อให้เป็นนครตัวอย่างของการปกครองแบบประชาธิปไตย
ด้านการทหาร
๑. ทรงตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร กระทรวงทหารเรือ
๒. ทรงตั้งกองบินกองทัพบก (ปัจจุบัน คือ กองทัพอากาศ)
๓. ทรงสร้างเรือรบและจัดหายุทโธปกรณ์อันทันสมัยมาใช้
ด้านการคมนาคม
๑. ทรงตั้งกรมอากาศยานขึ้น
๒. ทรงตั้งสถานีวิทยุโทรเลขที่กรุงเทพฯ (ตำบลศาลาแดง) และที่จังหวัดสงขลา
๓. ทรงตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐
ด้านการศึกษา๑. ทรงปรัปรุงโรงเรียนข้าราชการพลเรือนจนพัฒนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
๒. ทรงตั้งกรมมหาวิทยาลัย
๓. ทรงตั้งโรงเรียนเพาะช่างโรงเรียนพาณิชยการ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม
๔. ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์
ด้านเศรษฐกิจ
๑. ทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖
๒. ทรงตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
๓. ทรงตั้งกรมสรรพากร และกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ด้านสาธารณสุข
๑. โปรดให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
๒. ทรงตั้งสถานเสาวภา และกรมสาธารณสุข
๓. ทรงเปิดการประปา
ด้านต่างประเทศ
ทรงนำชาติไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นฝ่ายชนะ ทำให้สามารถเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดาได้ เช่น สนธิสัญญาเกี่ยวกับเรื่องการเก็บภาษี และสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ด้านวรรณคดี
ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือต่างๆ บทความ บทกวี บมละคร เรื่องสั้น ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นจำนวนประมาณ ๒๐๐ เรื่อง ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านนี้ประชาชนจึงได้ขนานนามพระองค์ว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
การพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมรพระราชดำริว่า วิธีการลูกเสือตามแบบของลอร์ด เบดาน โพเอลล์ สามารถนำมาใช้ปลูกฝังเด็กไทยให้เกิดความรักชาติบ้านเมือง และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้ จึงทรงจัดให้มีกองลูกเสือสำหรับเด็กชายขึ้น แต่ทรงวิตกว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และกิจการของลูกเสือดีพอ อาจทำให้มีอุปสรรคเกิดขึ้นได้ เพราะประชาชนอาจเข้าใจผิดคิดว่า การฝึกลูกเสือคือ การเป็นทหารนั่นเอง
ดังนั้น พระองค์จึงทรงทดลองจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นมาก่อน เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔ โดยทรงนำพวกมหาดเล็กของพระองค์ที่พระราชวังสราญรมย์ และพระราชวังสนามจันทร์มาฝึกยุทธวิธีในการรบ การสอดแนมตามหลักวิชาการทหารก่อนต่อมาทรงเห็นว่า ประชาชนเริ่มให้การยอมรับ จึงทรงขยายกองเสือป่าไปทั่วราชอาณาจักร
กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นนี้มีพระองค์ทรงเป็นบังคับบัญชา ทุกคนที่เข้าประจำการต้องเข้าพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งได้ทำพิธีครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองเสือป่า
๑. ปลูกฝังความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
๒. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย
๓. ปลูกฝังความสามัคคีในหมู่คณะไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
๔. เป็นกำลังสำรองเมื่อเกิดศึกสงคราม และคอยช่วยเหลือราชการในกิจการต่างๆ
เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่า ประชาชนเริ่มให้การยอมรับในกิจการของกองเสือป่าจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองลูกเสือสำหรับเด็กชายขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) เมื่อวันที่ ๑ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๕๔ มีชื่อว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๑ และได้พระราชทานคำขวัญให้ว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์
กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ ๑ ได้ทำพิธีเข้าประจำกอง เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๔ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามกองลูกเสือกองนี้ว่า กองลูกเสือหลวง
เป้าหมายในการฝึกอบรมกองลูกเสือ
๑. เพื่อปลูกฝังความจงรักภักดีต่อผู้ทรงดำรงรัฐสีมาอาณาจักรโดยต้องตามนิติประเพณี
๒. เพื่อปลูกฝังความรักชาติบ้านเมืองและนับถือพระศาสนา
๓. เพื่อปลูกฝังความสามัคคีในหมู่คณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
การดำเนินการลูกเสือในระยะแรกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบังคับบัญชาด้วยพระองค์เอง เป็นต้นว่า ทรงตราระเบียบข้อบังคับในการฝึกอบรมขึ้นเป็นแบบแผน ทรงตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติขึ้น โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นอุปนายก นับตั้งแต่นั้นมา กิจการลูกเสือก็เจริญก้าวหน้าแพร่หลายไปยังท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย จนตราบเท่าทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น